กลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1


กลับหน้ารวมบทความทั้งหมด

 มาร์ช นเรศวรมหาราช



image


รายละเอียดเพิ่มเติม
     
มาร์ช นเรศวรมหาราช
พงษ์ชัย  ไทยวรรณศรี
          ปกติผมไม่ค่อยชอบชมละครโทรทัศน์เท่าไหร่นัก...เหตุที่ไม่ชอบก็เพราะเห็นว่า ละครโทรทัศน์บ้านเราทุกวันนี้มีแต่ความบันเทิงเป็นหลัก เรียกว่าเอาแต่ “ประเทืองอารมณ์” สาระหรือข้อคิดที่จะช่วยให้ “ประเทืองปัญญา” นั้นมีน้อยมาก
          เนื้อเรื่องก็มีแต่ความฟุ้งเฟ้อ อิจฉาริษยา หึงหวงพระเอกนางเอกไม่ต้องทำงานทำการอะไร แต่มีฐานะความเป็นอยู่อย่างเศรษฐี เอาแต่เที่ยวเตร่ชิงรักหักสวาท ฉากบางฉากขายเรือนร่างผู้หญิง เน้นบทพิศวาสจนไม่คำนึงถึงความเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
          เด็กๆ ของเราใจแตกเพราะประพฤติตนตามแบบดาราที่แสดงในโทรทัศน์ก็มีไม่น้อย
          ยังดีที่ในระยะหลังมีละครโทรทัศน์ที่เป็นเรื่องประวัติศาสตร์มีเนื้อหาสาระและข้อคิดเตือนใจให้คนดูรักชาติอยู่บ้าง...
          แม้จะใส่สีตีไข่สอดแทรกเรื่องราวของเมียน้อยเมียหลวงหึงหวงกันเพื่อเอาใจตลาดอยู่บ้างแต่ก็พอยอมรับได้
          อย่างเรื่องกษัตริยาและต่อมาด้วยเรื่อง มหาราชกู้แผ่นดิน ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๕ ตอนทุ่มครึ่งถึงสองทุ่ม ทำให้ผมต้องใจจดใจจ่อติดตามดูแทบจะทุกคืน
          ครับ เรื่องราวที่แสดงถึงความทุกข์ของคนไทยที่ต้องสูญสิ้นเอกราช จากชาติอิสระกลายเป็นเมืองขึ้น
          บุรพพระมหากษัตริย์ไทยต้องทรงจำทนอดกลั้นต่อการถูกหยามเหยียดในฐานะตัวประกัน
          อดทนพร้อมกับฝึกฝนเคี่ยวกรำพระองค์เพื่อรอ โอกาสที่จะเป็นผู้ชนะในอนาคต ซึ่งในที่สุดก็ทรงประสบความสำเร็จ นำชาติไทยกลับมาเป็นเอกราชและประกาศศักดานุภาพของคนไทยอีกครั้งหนึ่ง
          สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงทรงเป็นวีระบุรุษในดวงใจของชาวไทยทุกคนมาจนถึงปัจจุบัน
          วันจันทร์ เดือนยี่ แรม ๒ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๑๓๕ คือวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำ
ยุทธหัตถีมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ปิดฉากความยิ่งใหญ่ของหงสาวดี ที่ตำบลหนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี
          วันนั้นตรงกับวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๑๓๕  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ สถูป ตำบลดอนเจดีย์ เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๔๕๖ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ ๙ ได้เสด็จไปกระทำพิธีเปิดพระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ตำบลดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๐๒
          เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งมหาวีรกรรมครั้งนี้ ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ ๒๕ มกราคม ของทุกปีเป็น”วันกองทัพไทย”... 
          ผมเป็นคนเมืองพิษณุโลก มีความภาคภูมิใจที่เกิดมาบนแผ่นดินของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช บริเวณโรงเรียนที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ก็คือ พระราชวังจันทร์อันเคยทรงเป็นที่ประทับของพระมหาราช
          แม้จะได้รู้จักและซาบซึ้งในเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาเป็นอย่างดีตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียน แต่เมื่อมีการนำเอาพระราชวีรกรรมนั้นมาแสดงในรูปของละคร ภาพยนตร์ หรือบทเพลง ก็อดไม่ได้ที่จะต้องติดตามชมเกือบทุกครั้ง
          อย่างละคร มหาราชกู้แผ่นดิน ที่กำลังแพร่ภาพอยู่ในขณะนี้...
          ผมลองค้นหาเพลงที่เกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พบว่ามีด้วยกันหลายเพลงทั้งหมดเป็นเพลงประกอบละครและภาพยนตร์ เช่น เพลง มาร์ชนเรศวร ผลงานเพลงของ ร.อ.ประยูร ชีรานนท์ จำรูญ หนวดจิ๋ม ขับร้องคนแรก เพลงนี้ได้กลายเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เสียงศรีกรุงในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ (ลำนำแห่งสยาม นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล)
          เพลงจอมกษัตริย์นเรศวรพ.ศ. ๒๔๙๖ ขับร้องโดย ศิริ คุ้มอยู่ และบุญเลิศ เสนาชัย และเพลง “มาร์ชนเรศวรมหาราช” ที่ผมจะนำเสนอกับท่านในฉบับนี้
          เพลงมาร์ชนเรศวรมหาราช เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง “นเรศวรมหาราช” บริษัทอัศวินการละครและภาพยนตร์ ของเสด็จพระองค์ชายใหญ่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล นำแสดงโดย ชูชีพ พระขรรค์ชัย และพจนีย์ โปร่งมณี เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์เฉลิมไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐
          ผมได้ข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากข้อเขียนของผู้ใช้นามปากกาว่า ณ เพ็ชรภูมิ จากหนังสือ “เปิดกรุ” สำนักพิมพ์มติชนจัดพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ท่านผู้เขียนเป็นแพทย์ที่ทำหน้าที่อยู่ในกองถ่ายภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ป่าแม่ตื่น จังหวัดลำพูน และได้เล่าถึงการถ่ายภาพยนตร์เรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ ทำให้ได้ทราบว่า หม่อมปริม บุนนาค เป็นหัวหน้าคณะผู้หญิง สมถวิล มุกดาประกร แสดงเป็นตัวผู้ร้าย เกชา เปลี่ยนวิถี รับบทพระราชมนู ทหารเอก พูลสวัสดิ์ ธีมากร ก็อยู่กับคณะกองถ่ายทำภาพยนตร์ด้วย
          ผมไม่ทราบว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับความสำเร็จมากน้อยเพียงใด แต่เพลงประกอบนั้นได้รับความนิยมกลายเป็นเพลง “ดัง” ที่ต้องทำแผ่นเสียงออกมาจำหน่ายทั้ง ๒ เพลงคือ มาร์ช นเรศวรมหาราช และกลิ่นรำ
          ค้นพบภาพปกแผ่นเสียงจากหนังสือ “ร้อยปีหนังไทย” ของ โดม สุขวงศ์ และสวัสดิ์ สุวรรณปักษ์ สำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์ จัดพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงขออนุญาตนำมาประกอบบทเพลงด้วยครับ
          หนังสือเล่มนี้คือเรื่องราวของหนังไทย พิมพ์ด้วยกระดาษอย่างดีมีภาพสีประกอบสวยงามและมีคุณค่ายิ่ง ท่านที่รักหนังและหนังสือไม่ควรพลาด
          ผมคุ้นกับเพลงมาร์ชนเรศวรมหาราช มาตั้งแต่เด็ก โดยได้ยินมาจากสถานีวิทยุกองพลทหารราบที่ ๔(ว.พล.๔ พิษณุโลก) ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสถานีมักจะใช้เพลงนี้เปิดตอนเปิดสถานีตอนเช้า
          ฟังแล้วชอบเพรามีท่วงทำนองเพลงที่คึกคักเร้าใจ เนื้อเพลงสละสลวยไพเราะ แต่ไม่ได้สนใจว่าใครแต่งจนมาทราบในภายหลังว่า เพลงมาร์ชนเรศวรมหาราช เป็นผลงานด้านทำนองของ ครูเอื้อ สุนทรสนาน  คำร้อง ครูแก้ว อัจฉริยะกุล สองขุนพลเพลงแห่งสยามประเทศ
          เมื่อวงดนตรีสุนทราภรณ์มีอายุได้ ๕๐ ปี ได้มีการจัดทำหนังสือ “สุนทราภรณ์ครึ่งศตวรรษ” เพื่อเป็นที่ระลึกการก่อตั้งวงดนตรี นอกจากเรื่องราวของชาวสุนทราภรณ์แล้ว หนังสือเล่มนี้ได้คัดเลือกเพลงซึ่งถือว่าเป็นเพลงอมตะสุนทราภรณ์มาลงไว้ ๑๐๐ เพลง และหนึ่งในจำนวนนั้นก็มีเพลง มาร์ชนเรศวรมหาราช รวมอยู่ด้วย

                                            เพลงมาร์ชนเรศวรมหาราช
                      นเรศวร พระมหาวีรราชเจ้าจอมไทย  กู้อิสรภาพปราบเสี้ยนหนามไพรี
      พระต้านต่อตีเทิดศรีอโยธยา พระทรงรบศึกฮึกไปข้างหน้า พระเผด็จศึกเข็ญเข่นฆ่า ปราบปัจจาทุกที่
                     ได้ชื่อว่าเป็นยอดวีรบุรุษ พระเกียรติเชิงยุทธเฟื่องสุดปฐพี
      หาญห้าวเข้ารุก ยุทธหัตถี ยุทธวิธีเป็นที่เฉิดฉันท์
                     หาญ กล้า พระนำทัพไทยรบปัจจา ออกหน้าประจัญ
      สิ่งใดขวางกั้น รุกรอนเข้าฟอนฟัน บุกเข้าไปประจัญข่มขวัญทันใด
                     รบรา กล้าตาย พระทรงมุ่งหมายล้างอายให้ไทย แย้งยุทธสุดใจ
      พระรวมชาติไทย สมไทยสืบมา
                     กอบกู้อิสระยอดวีรชนไทย เชื้อชาติชาวไทยเทิดไว้ด้วยใจศรัทธา
       ทุกคน ทุกคนสาบานจะหาญกล้า เหมือนดัง
                     มหาวีระจอมไทยที่เกริกไกรทรงนามนเรศวรนั้นเทอญ

          เพลงมาร์ชนเรศวรมหาราชใช้จังหวะมาร์ชเนื่องจากมีเนื้อหาและทำนองที่คึกคักเร้าใจ ในส่วนตอนต้นของเพลงหรือ อินโทร ครูเอื้อ สุนทรสนาน ได้ใช้ทำนองเพลงไทยและดนตรีเรียนแบบการเป่าสังข์ซึ่งสมัยโบราณใช้เป่าเวลาที่พระมหากษัตริย์เสด็จออกท้องพระโรงเพื่อแสดงถึงความโอ่อ่า อลังการประหนึ่งมีพระมหากษัตริย์เสด็จมาประทับอยู่ด้วย
          เป็นที่น่าแปลกที่อินโทรของเพลงสดุดีมหาราชา เพลงอมตะของชาติเพลงหนึ่ง ซึ่งครูสมาน กาญจนะผลิน แต่งไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ มีท่วงทำนองที่คล้ายกับเพลงมาร์ชนเรศวรมหาราชเป็นอย่างมาก ท่านที่มีเทปหรือแผ่นเสียงทั้งสองเพลงนี้ลองเปิดเปรียบเทียบกันดูได้ครับ
          สำหรับเนื้อหาของเพลง ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ท่านได้บรรจงเสกสรรร้อยกรองที่ร้อยรัดเข้ากับทำนองได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งคำ และความสามารถบรรยายวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ครบถ้วนโดยใช้อักษรไม่กี่ประโยค ทำให้เรามองเห็นภาพวีรกรรมของพระองค์ได้อย่างชัดเจน เช่น
          “กู้อิสรภาพปราบเสี้ยนหนามไพรี พระต้านต่อตีเทิดศรีอโยธยา”
          คำว่า พระ เผด็จ ศึก เข็ญ เข่น ฆ่า ปราบ ปัจจา ทุกที่ คือ การรู้จักใช้คำที่เล่นเสียงกันอย่างสอดคล้องกันงดงาม
          “หาญ กล้า พระนำทัพไทยรบปัจจา ออกหน้าประจัญ สิ่งใดขวางกั้น รุก รอน เข้าฟอนฟัน บุกเข้าไปประจัญข่มขวัญทันใด”
          ภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทรงนำหน้าทหารไทยบุกเข้าโจมตีกองทัพข้าศึกโดยไม่หวั่นต่ออันตรายนั้น สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ทหารไทยอย่างใหญ่หลวง
          “พระทรงมุ่งหมายล้างอายให้ไทย...พระรวมชาติไทยสมใจสืบมา...”
          ไม่ถึงยี่สิบปีเมื่อไทยเสียเอกราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงล้างอายให้คนไทยทั้งชาติด้วยการแผ่พระบรมเดชานุภาพไปทั่วสุวรรณภูมิ
          บทสุดท้าย ครูแก้วท่านเขียนอาศิรวาทเพื่อเทิดพระเกียรติว่า “ชาติเชื้อไทยเทิดไว้ด้วยใจศรัทธา”และให้คำมั่นสัญญาแทนคนไทยว่า “ทุกคนสัญญาจะหาญกล้า เหมือนดังมหาวีระจอมไทยที่เกริกไกร ทรงนามนเรศวรนั้นเทอญ..”
          วันที่ ๒๕ มกราคม วันกองทัพไทย ขอฝากเพลงมาร์ชนเรศวรมหาราชไว้ในความทรงจำ


----------------------
WHAT AV มกราคม ๒๕๔๗
 หมายเหตุ  ขณะเขียนต้นฉบับเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗  ทางราชการได้กำหนดวันที่  ๒๕ มกราคม
ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย  ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงเป็นวันที่  ๑๘  มกราคม


 สั่งพิมพ์หน้านี้
 ดาวน์โหลดไฟล์แนบ
ข้อมูลข่าววันที่: 23 มกราคม 2561
ผู้อ่าน: 59,605 คน

  ผู้บริหารหน่วยงาน  


นายธราพงศ์ สุเทียนทอง

รอง ผอ.สพป.พิษณุโลก เขต 1




นาง สุทัศน์  จำปาศักดิ์

 ผอ.กลุ่มอำนวยการ

   

นางศิริพร ทรัพย์ปฐวีกุล
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางสาวณิชาภา อำพวลิน
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางสาวธนันพัชญ์ เอกธนากุลภัสสร์
พนักงานธุรการ ระดับชำนาญงาน

นางสาวเพชรรัตน์  เชื้อศรีสกุล
พนักงานราชการ (นักจัดการงานทั่วไป)

                                                              

นางสาวกนิษฐา  ม่วงสวน
พนักงานราชการ (นักจัดการงานทั่วไป)

นายณัฐกมล ทัพผึ้ง

      นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

นายวรชิต ม่วงสวน
เจ้าพนักงานธุรการ ส 4

นายมนตรี ทรัพย์ปฐวีกุล
เจ้าพนักงานธุรการ ส 4

นางรุ่งเรือง กะลำภา
แม่บ้าน

นางรัตนา ม่วงสวน
พนักงานจ้างเหมาบริการ

นายปณิธาน คงมั่น
พนักงานขับรถยนต์

นายบุญฤทธิ์    แซ่เอี้ยว
พนักงานขับรถยนต์

นายสุวิทย์ เดชอิ่ม
พนักงาน จ้างเหมาบริการ

นายสมเกียรติ พูนมาก
พนักงานรักษาความปลอดภัย


  บริการข้อมูล  
   
  การประเมินคุณธรรมความโปร่งใส  
   
  คู่มือปฏิบัติงานกลุ่มอำนวยการ  
   
  งานมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่  
   
  ทำเนียบข้าราชการ  
   
  ระบบควบคุมภายใน  
   
  การประเมินตัวชี้วัด  
   
  รายงานผลการวิจัยทางการศึกษา  
   
  คลินิกแก้ไขปัญหาหนี้สินครู  
   
  ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)  
   
  การประชุม ผู้บริหารสถานศึกษา  
   
  เชื่อมโยงลิงค์อื่นๆ  
 
  โรงเรียนในสังกัด  
 
  เฟสบุ๊ค แฟนเพจ  
 

 
  สถิติผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์  
 

 
  พยากรณ์อากาศ  
 

 

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์