กลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1


กลับหน้ารวมบทความทั้งหมด

 เพลงหน้าที่เด็ก



image


รายละเอียดเพิ่มเติม
     
เพลงหน้าที่เด็ก
พงษ์ชัย  ไทยวรรณศรี
          วันสำคัญของเดือนมกราคมนอกจากวันขึ้นปีใหม่แล้วยังมี “วันเด็ก” อีกวันหนึ่ง ทางราชการกำหนดเอาวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมเป็นวันเด็กแห่งชาติ ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 8 มกราคม 2543
          พูดถึงวันเด็ก ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านซึ่งผ่านวัยนี้มาแล้วคงจะระลึกถึงความสนุกสนาน รื่นเริง ในวันดังกล่าวได้ วัยเด็กเป็นวัยที่สดใสเปี่ยมไปด้วยความหวัง ในจิตใจมีแต่ความบริสุทธิ์...
          สำหรับผมแล้วเมื่อนึกถึงวันเด็ก จะเห็นภาพโรงเรียนประชาบาลบ้านนอก ภาพเพื่อนๆ ซุกซนมอมแมมที่ต่างเฝ้ารอคอยการมาถึงของวันเด็ก
          เพราะวันนั้นเราจะมาโรงเรียนด้วยเครื่องแต่งกายที่สวยที่สุดเพื่อมาเล่นเกมสนุก ๆ รับรางวัลได้กินขนมผลไม้ และไอศกรีมอร่อย ๆ ที่ครู ผู้ปกครองนักเรียนและผู้มีจิตเมตตานำมาจัดเลี้ยงบางทีก็มีการนำของขวัญมาจับสลากแลกกัน
          บางปีครูจะนำไปร่วมงานวันเด็กของจังหวัด ซึ่งมีหน่วยราชการ บริษัท ห้างร้านมาช่วยจัดซุ้ม เล่นเกม ทายปัญหา มีขนมและของขวัญของรางวัลแจกกันมากมาย ที่ตื่นเต้นเป็นพิเศษก็เห็นจะเป็นการจัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ของทหาร เช่น รถถัง ปืนกล ปืนใหญ่ เครื่องบิน ฯลฯ
          ปีไหนครูจะพาไปร่วมงานวันเด็กในเมืองละก็ จะต้องสั่งให้พวกเราทบทวนความรู้รอบตัวจำพวกคำขวัญวันเด็กของนายกรัฐมนตรี ชื่อข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัด ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์หรือเหตุการณ์บ้านเมืองต่าง ๆ เพื่อเข้าร่วมเล่นเกมตอบปัญหาชิงรางวัล
          แนะนำ สั่งสอน ทบทวนกันให้ดี เพื่อลูกศิษย์จะได้ตอบถูกได้รับรางวัลไม่อายโรงเรียนอื่นเขา
          ผมเป็นนักเรียนคนหนึ่งครูเห็นว่าพอมีแววดีเรื่องความรู้รอบตัวอยู่บ้าง จึงให้เป็นตัวแทนโรงเรียนเข้าแข่งขันตอบปัญหาชิงรางวัลบนเวทีกลางที่จังหวัดจัด
          พอขึ้นเวที เห็นนักเรียนคู่แข่งที่มาจากโรงเรียนในเมือง ประเภทโรงเรียนประถมศึกษาประจำจังหวัดของกรมสามัญศึกษา  โรงเรียนสาธิตของวิทยาลัยครู  โรงเรียนราษฎร์ แล้วให้เกิดความประหม่า แข้งขาสั่น ใจคอไม่ค่อยดี เพราะชื่อชั้นของโรงเรียนประชาบาลในวัดอย่างเรานั้นห่างไกลกับเขาเหลือเกิน
          แต่เมื่อไหนไหนก็ขึ้นมาบนเวทีแล้ว ก็ต้องข่มจิตข่มใจ ตั้งสติสู้ นึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ อย่างเช่น “หลวงปู่” เจ้าอาวาสวัดที่อุปถัมภ์โรงเรียนให้มาช่วยเหลือ
          เราก็ศิษย์หลวงปู่เหมือนกัน จะไปกลัวใคร...
          จะด้วยโชคหรืออะไรก็ไม่ทราบ คำถามที่กรรมการถามนั้นเหมือนกับที่ผมเคยท่องมาเกือบทุกข้อ จึงได้เข้าชิงชนะเลิศกับนักเรียนหญิงของโรงเรียนราษฎร์ชื่อดังของจังหวัด
          รอบนี้มีปัญหาความรู้รอบตัวอยู่ 10 ข้อ ใครตอบถูกก่อนได้คะแนนไปข้อละ 1 คะแนน
          ปรากฏว่า ได้คะแนน 7 คะแนนเท่ากัน
          ปัญหาที่เตรียมไว้หมดแล้วกรรมการผู้ตัดสินซุบซิบกันอยู่ครู่หนึ่ง จึงประกาศว่าถ้าใครสามารถร้องเพลง “หน้าที่เด็ก” ได้จบจบแล้วจะก็ ถือว่าชนะเลิศ
          ผมยืนงง เพลงหน้าที่เด็กก็เคยได้ยืนมาบ้าง ก่อนเข้ามาในงานก็ได้ยินจากเครื่องขยายเสียงของกองอำนวยการจัดงานวันเด็ก พอจะฮัม ๆ ทำนองและเนื่องร้องได้บ้าง แต่ให้ร้องจริง ๆ แล้วคงไม่จบ หันไปมองเด็กหญิงคนนั้น เธอรีบยกมือละล่ำละลักพูดด้วยความดีใจว่า “หนูร้องได้ค่ะ...”
          เสียงเพลงแจ้ว ๆ ดังขึ้น และจบลงด้วยเสียงปรบมือของผู้ชมรอบเวที ผมเห็นภาพเด็กหญิงก้าวไปรับรางวัลในฐานะผู้ชนะเลิศจากศึกษาธิการจังหวัด ส่วนตนเองนั้นเข้าไปรับรางวัลรองชนะเลิศเมื่อใดไม่รู้ตัว
          ลงจากเวทีผมก็ยังได้ฟังเพลง “หน้าที่เด็ก” และเพลงสอนเด็กที่เปิดในงานสลับกันอีกหลายครั้ง
          เอาสมุดมาจดเนื้อร้องเพื่อจะขับร้องให้ได้ด้วยความเจ็บใจ
          กว่า 30 ปีแล้ว ภาพเหตุการณ์ในวันนั้นอาจจะพร่าเลือนไปบ้าง แต่เสียงแจ้ว ๆ ร้องเพลง “หน้าที่เด็ก” ยังตรึงอยู่ในความทรงจำจนถึงวันนี้
          เพลงหน้าที่เด็ก เป็นเพลงหนึ่งในชุด “เยาวชนไทย” ของวงดนตรีสุนทราภรณ์ หรืออีกนัยหนึ่งในขณะนั้นคือ วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ได้แต่งเพลงสำหรับเด็กหรือเยาวชน เพื่อให้ข้อคิดคติเตือนใจไว้จำนวนหนึ่ง
          เพลงเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย เพราะวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้ใช้เป็นเพลงสำหรับประชาสัมพันธ์การจัดงานวันเด็กหรืองานที่เป็นกิจกรรมของเยาวชน บางเพลงก็ได้รับการบรรจุไว้ในหลักสูตร การเรียนวิชาขับร้องและดนตรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษา


เพลงหน้าที่เด็ก
                          (สร้อย) เด็กเอ๋ยเด็กดี              ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน   (ซ้ำ)
               หนึ่ง นับถือศาสนา                             สอง รักษาธรรมเนียมมั่น
               สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์                   สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
               ห้า ยึดมั่นกตัญญู                               หก เป็นผู้รู้รักการงาน
               เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ                ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน
               แปด รู้จักออมประหยัด                        เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล
               น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ                        ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา
               สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์                  รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา
               เด็กสมัยชาติพัฒนา                            จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ (สร้อย)
         
          ประเทศไทยเริ่มจัดงานวันเด็กมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนขององค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ โดยทุกปี นายกรัฐมนตรีจะมอบคำขวัญให้เด็ก ๆ นำไปยึดถือปฏิบัติ
          คำขวัญวันเด็กปีแรก เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2499 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้มอบคำขวัญวันเด็กไว้ว่า “จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม”
          สำหรับเพลง “หน้าที่เด็ก” ที่ผมประทับใจนั้น เป็นผลงานทำนองของ เอื้อ สุนทรสนาน และคำร้อง โดย ชอุ่ม ปัญจพรรค์
          ชอุ่ม ปัญจพรรค์ เป็นนักประพันธ์ชื่อดัง ทั้งบทละครวิทยุและนวนิยาย นกจานั้นนี้ยังเป็นผู้แต่งคำร้องให้วงดนตรีสุนทราภรณ์ด้วย เพลงที่สร้างชื่อเสียงให้มีมากมาย เช่น เพลง ข้องจิต รักบังใบ รักเพียงใจ ถึงเธอ หนึ่งในดวงใจ วิมานใยบัว รักเอาบุญ ฯลฯ
          ชอุ่ม ปัญจพรรค์ เล่าถึงเบื้องหลังการแต่งเพลง “หน้าที่เด็ก “ ไว้ในหนังสือ “สุนทราภรณ์ครึ่งศตวรรษ” ว่า
          เพลงหน้าที่เด็กนั้น อา (เอื้อ สุนทรสนาน) เรียกให้ไปที่ห้องดนตรีสากล และกล่าวทันทีที่เห็นหน้าอุ่ม ทางการเขาจะจัดวันเด็กจะต้องแต่งเพลงเกี่ยวกับเด็กไปบรรเลง “เอาเร็วไหมอา” ฉันถามประวิงการแต่ง
          “ต้องเร็วซี” อาเสียงขุ่น “เดี๋ยวนี้” ฉันเลยเอาหน้าที่เด็ก 10 ข้อ ของคณะกรรมการจัดงานวันเด็กพิมพ์แรกจ่ายไปทั่วทุกโรงเรียนบังเอิ๊ญ บังเอิญอีกนะแหละที่ฉันเป็นผู้แทนจากกรมโฆษณาการไปร่วมเป็นกรรมการ
ในคณะด้วย จึงมีเอกสารอยู่ในมือพร้อม ตอนนั้นท่านอาจารย์อภัย จันทวิมล ท่านเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการอยู่ และเป็นประธานโดยตำแหน่ง ดังนั้น เพลง เด็กเอ๋ยเด็กดีต้องมีหน้าที่ 10 อย่างด้วยกันจึงเกิดขึ้น”
          ผมมาพิจารณาดูพบว่า เพลงนี้เป็นเพลงสุนทราภรณ์ที่มีลีลาการใช้ภาษาอย่างง่าย ๆ เด็กฟังแล้วเข้าใจได้ทันที ขับร้องก็ง่าย
          ขึ้นต้นด้วยสร้อยเพลงที่ว่า “เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน” ซ้ำสองหนก่อนจะเข้าถึงเนื้อหาเป็นข้อ ๆ และจบด้วยสร้อยเพลง ซึ่งเหมือนกับเป็นการย้ำเตือนความทรงจำของเด็กให้ยึดมั่นในหน้าที่ของตน
          ข้อหนึ่งให้นับถือศาสนา ข้อสองให้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของไทย ข้อสามให้ช่วยพ่อแม่ครูอาจารย์ สี่ให้ใช้วาจาที่สุภาพก่อนหวาน ห้าให้มีความกตัญญู หกให้รักการงาน เจ็ดให้ไม่เกียจคร้าน แปดให้รู้จัดประหยัดและอดออม เก้าให้มีความซื่อสัตย์ มีน้ำใจเป็นนักกีฬา และข้อสุดท้ายให้บำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ รู้จักรักษาสมบัติของชาติ
          สุดท้ายก็ฝากความหวังไว้กับเด็ก “เด็กสมัยชาติพัฒนาจะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ”
          ฟังเพลงหน้าที่เด็กแล้ว ผมเห็นว่าแม้เพลงจะเก่าแต่มีความทันสมัย ถ้าหากพิจารณากันดี ๆ ผู้ใหญ่อย่างเราจะได้ข้อคิดจากเพลง
          อย่างข้อสามที่ว่า “สามช่วยพ่อแม่ครูอาจารย์” นั้น เราในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครองควรจะหันกลับให้ความสำคัญกันมาก ๆ
          ยอมรับกันไหมครับว่า ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่เลี้ยงลูกด้วยการตามใจ
          ขอให้ลูกตั้งหน้าตั้งตาเรียนหนังสือกันอย่างเดียวงานบ้านหรือกิจกรรมอื่น ๆ พ่อแม่ทำให้หมด
          เด็กของเราจึงมีแต่ความรู้ในทางวิชาการ แต่การงานพื้นฐานที่จะทำให้ช่วยเหลือในการครองชีวิตได้ รู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักสงสารและเห็นใจพ่อแม่ นั้นเด็กของเราสมัยนี้ไม่รู้จัก
          โตขึ้นเขาจะเป็น “คน” ที่สมบูรณ์ได้อย่างไร
          ข้อที่แปดเรื่องการรู้จักออมและประหยัดก็สำคัญ
          ทุกวันนี้ “สื่อ” ต่าง ๆ รุมเร้ายัดเยียด ปลูกฝังวัฒนธรรมบริโภคนิยมด้วยการส่งเสริมให้ใช้ “ของแพง” และ “ของฟุ่มเฟือย” ลงในสมองของเด็กไทยทุกวัน
          เด็กเป็นเป้าหมายที่หลอกล่อให้จ่ายเงินได้ง่าย
          ทำอย่างไรทีจะปลุกเด็กของเราให้ตื่นจากความหลับใหลงมงาย กลับมารู้จัก “ประหยัด” และ “ออม”
          อย่างไรก็ตาม เด็กเขาจะไม่เชื่อเราเลย ถ้าผู้ใหญ่เพียงแต่สั่งสอน โดยไม่ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง
          อย่าหวังสิ่งใดจากเด็ก ถ้าหากผู้ใหญ่ยังทำไม่ได้...

--------------------------------
WHAT AV  มกราคม ๒๕๔๓
 


 สั่งพิมพ์หน้านี้
 ดาวน์โหลดไฟล์แนบ
ข้อมูลข่าววันที่: 23 มกราคม 2561
ผู้อ่าน: 183 คน

  ผู้บริหารหน่วยงาน  


นายธราพงศ์ สุเทียนทอง

รอง ผอ.สพป.พิษณุโลก เขต 1




นาง สุทัศน์  จำปาศักดิ์

 ผอ.กลุ่มอำนวยการ

   

นางศิริพร ทรัพย์ปฐวีกุล
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

-ว่าง-
นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

นางสาวณิชาภา อำพวลิน
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางสาวเพชรรัตน์  เชื้อศรีสกุล
นักจัดการงานทั่วไป

นายมนตรี ทรัพย์ปฐวีกุล
เจ้าพนักงานธุรการ ส 4

นายวรชิต ม่วงสวน
เจ้าพนักงานธุรการ ส 4

นางรุ่งเรือง กะลำภา
แม่บ้าน

นางรัตนา ม่วงสวน
พนักงานจ้างเหมาบริการ

นายปณิธาน คงมั่น
พนักงานขับรถยนต์

นายบุญฤทธิ์    แซ่เอี้ยว
พนักงานขับรถยนต์

นายสุวิทย์ เดชอิ่ม
พนักงาน จ้างเหมาบริการ

นายสมเกียรติ พูนมาก
พนักงานรักษาความปลอดภัย


  บริการข้อมูล  
   
  การประเมินคุณธรรมความโปร่งใส  
   
  คู่มือปฏิบัติงานกลุ่มอำนวยการ  
   
  งานมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่  
   
  ทำเนียบข้าราชการ  
   
  ระบบควบคุมภายใน  
   
  การประเมินตัวชี้วัด  
   
  รายงานผลการวิจัยทางการศึกษา  
   
  คลินิกแก้ไขปัญหาหนี้สินครู  
   
  ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)  
   
  การประชุม ผู้บริหารสถานศึกษา  
   
  เชื่อมโยงลิงค์อื่นๆ  
 
  โรงเรียนในสังกัด  
 
  เฟสบุ๊ค แฟนเพจ  
 

 
  สถิติผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์  
 

 
  พยากรณ์อากาศ  
 

 

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์